พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
เหรียญพระคลัง เ...
เหรียญพระคลัง เพชรยอดมงกุฎ รุ่นแรก กรมธนารักษ์ เนื้อทองแดงรมดำพ่นทราย ปี 56
เหรียญพระคลัง เพชรยอดมงกุฎ รุ่นแรก กรมธนารักษ์ เนื้อทองแดงรมดำพ่นทราย ปี 56 สภาพสวยมากคาตลับ พร้อมใบกำกับ สนใจสอบถามได้ครับ
ส่งด่วน
กรมธนารักษ์ และ พระธรรมภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตรฯ ได้จัดสร้าง เหรียญพระคลัง เพชรยอดมงกุฎ รุ่นแรก ขึ้น เพื่อสนับสนุนโครงการ เพชรยอดมงกุฎ ที่ท่านเจ้าคุณได้ตั้งขึ้นมาสิบปีแล้ว เหรียญพระคลัง เพชรยอดมงกุฎ มีรูปแบบงดงาม ด้านหน้าเป็น องค์พระคลัง ด้านหลังเป็น ยันต์เกราะเพชร ซึ่งมีอานุภาพสูง คุ้มครองป้องกันภยันตรายประดุจมี เกราะเพชร ห้อมล้อม
จัดสร้าง 3 รูปแบบ คือ เหรียญทองคำ เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ และ เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายธรรมดา
เหรียญพระคลัง เพชรยอดมงกุฎ พ.ศ.๒๕๕๖ นั้น กรมธนารักษ์ได้สร้างเหรียญพระคลังเพชรยอดมงกุฎ เพื่อเป็นการตอบสนองพลังความศรัทธาของประชาชนที่ยังมีความต้องการบูชาเหรียญที่ระลึกพระคลัง กรมธนารักษ์จึงได้จัดสร้าง “
เหรียญพระคลังเพชรยอดมงกุฎ”
ที่มีการออกแบบทางด้านศิลปะที่สวยงามเนื้อทองแดงรมดำพ่นทรายธรรมดา
ด้านหน้า
เป็นรูปพระคลังมหาสมบัติ เทวดาผู้ปกปักรักษาทรัพย์สินของประเทศในกรมพระคลังหลวงมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งถือเป็นเทพทางด้านเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
ด้านหลัง
เป็นรูปหลังยันต์เกราะเพชร ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาภยันตรายไม่ให้กล้ำกรายต่อผู้ครอบครอง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวรูปขึ้นประดิษฐานไว้ในอาคารที่ตั้งของพระคลังมหาสมบัติ หรือที่เรียกว่า “พระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ” โดยมีลักษณะเป็นเทวดาหล่อยืน ทรงเครื่องกษัตริยาธิราช สวมมงกุฎยอดชัย (หรือพระมหามงกุฎ) พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ อันเป็นลักษณะของผู้ปกป้องคุ้มครอง ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงามและการบูชา ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบเก๋งจีนทำด้วยไม้จันทน์ทาชาดสีแดง มีประตูเป็นบานเฟี้ยมถอดได้ แกะสลักลวดลายแบบจีน ลงรักปิดทอง
สันนิษฐานกันว่าการสร้างพระคลัง มีนัยยะคล้ายกับการสร้างพระสยามเทวาธิราช ทั้งในด้านรูปลักษณะในท่าที่ทรงยืน ฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงแบบกษัตริย์ สวมมงกุฎยอดชัย ซึ่งหากจะเปรียบกับตัวโขนในมหากาพย์รามายณะหรือรามเกียรติ์แล้ว ตัวพระซึ่งเป็นเชื้อสายกษัตริย์ คือ ‘พระราม’ หรือแม้แต่ ‘พระลักษณ์’ ก็สวม ‘มงกุฎยอดชัย’ ซึ่งมีลักษณะคล้ายพระมหามงกุฎเช่นกัน นอกจากนี้ ยังเปรียบเสมือนเทพยดาศักดิ์สิทธิ์ที่คอยอภิบาลรักษา โดยองค์พระสยามเทวาธิราชเป็นดั่งเทพที่คอยปกป้องบ้านเมือง ส่วน “พระคลัง” ดุจดังเทพผู้พิทักษ์รักษาทรัพย์สินมีค่าในพระคลังมหาสมบัติ สำหรับนัยยะของดอกบัวที่อยู่ในพระหัตถ์ซ้ายของ “พระคลัง”นั้น กล่าวกันว่า ‘ดอกบัว’ เป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อทางศาสนาพุทธ และเทพเจ้าของฮินดู ซึ่งมีการนำมาใช้ในพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพราะถือเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ ‘ดอกบัว’ ยังเป็นต้นเค้าของพุทธศิลป์ไทย เห็นได้จากการนำรูปทรงดอกบัวมาใช้เป็นองค์ประกอบเชิงศิลป์ซึ่งนิยมทำเป็นรูปรองรับพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ รูปบัวหัวเสาในอาคารสถาปัตยกรรมไทย เทวรูป หรือรูปเคารพที่ทรงถือดอกบัว อาทิ เทวรูปพระแม่ลักษมี ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการนำรูปดอกบัวไปประทับบนเงินตรา เช่น รูปกระต่ายบนดอกบัวในเหรียญเงินทวารวดี รูปดอกบัวบนเงินพดด้วงสมัยอยุธยา และรูปบัวอุณาโลมบนเงินพดด้วงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมถึงรูปแบบของเครื่องอิสริยยศหมวดเครื่องอุปโภค เช่น พานพระศรี หรือพานหมาก ตลอดจนรูปองค์ประกอบบนดวงตราและดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ฯลฯ
ความเชื่อเกี่ยวกับ “พระคลัง”
ว่าเปรียบดั่งเทพผู้พิทักษ์รักษาทรัพย์สินมีค่าในพระคลังมหาสมบัติ เป็นความเชื่อถือที่มีมาช้านาน เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเคารพบูชา และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของข้าทูลละอองธุลีพระบาทที่รับราชการในพระคลังมหาสมบัตินับจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จาก การที่ชาวกรมธนารักษ์ยังคงสืบทอดประเพณี “ถวายเครื่องสังเวย” (แปลว่า ให้อาหาร ให้เครื่องกิน ให้เครื่อง เซ่นไหว้) เทวรูปพระคลัง หรือที่ชาวกรมธนารักษ์เรียกกันว่า “พิธีไหว้เจ้าพ่อคลัง” ขึ้นทุกปีอย่างสม่ำเสมอ มิได้ขาด เพื่อขอให้ความเป็นสิริมงคลเกิดขึ้นแก่ผู้สักการบูชา และเป็นสิ่งที่ทุกคนได้พร้อมใจกันกระทำด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธาที่มีต่อ “เทวรูปพระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ” อย่างไม่เสื่อมคลาย
ผู้เข้าชม
71 ครั้ง
ราคา
359
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
somphop
ชื่อร้าน
อริยทรัพย์ อัมมูเลท
ร้านค้า
ariyatrap-amulet.99wat.com
โทรศัพท์
0898525553
ไอดีไลน์
0898525553
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 415-2-34499-1
พระเนื้อผงนั่งยอง ลพ-คูณ พิเศษ
สมเด็จไพรีพินาศ ปปป ลป-เปลี่
เหรียญรุ่นแรก พระครูพรหมาภิร
ล็อกเก็ตฉากทองจัมโบ้ หลวงปู่ป
ขุนแผนสะกดทัพ วัดป่าเลไลยก์
ขุนแผนอัครมหาเศรษฐีพรายกุมาร ร
พระปิดตาปลดหนี้ รุ่นแรก เลขประ
เหรียญสมเด็จพระสังฆราช อัมพร อ
สมเด็จพิมพ์ใหญ่-ไตรมาส หลวงพ่อ
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
nattapong939
น้ำตาลแดง
ชา วานิช
chaithawat
SaraburiHinkong
โกหมู
Spiderman
จิ๊บพุทธะมงคล
pratharn_p
hra7215
ep8600
Achi
BAINGERN
Erawan
hopperman
jocho
แมวดำ99
0899373228
somphop
ว.ศิลป์สยาม
เนินพระ99
termboon
โจ้ ลำนารายณ์
Le29Amulet
บ้านพระหลักร้อย
บ้านพระสมเด็จ
ภูมิ IR
jazzsiam amulet
someman
holypanyadvm
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1485 คน
เพิ่มข้อมูล
เหรียญพระคลัง เพชรยอดมงกุฎ รุ่นแรก กรมธนารักษ์ เนื้อทองแดงรมดำพ่นทราย ปี 56
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
เหรียญพระคลัง เพชรยอดมงกุฎ รุ่นแรก กรมธนารักษ์ เนื้อทองแดงรมดำพ่นทราย ปี 56
รายละเอียด
เหรียญพระคลัง เพชรยอดมงกุฎ รุ่นแรก กรมธนารักษ์ เนื้อทองแดงรมดำพ่นทราย ปี 56 สภาพสวยมากคาตลับ พร้อมใบกำกับ สนใจสอบถามได้ครับ
ส่งด่วน
กรมธนารักษ์ และ พระธรรมภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตรฯ ได้จัดสร้าง เหรียญพระคลัง เพชรยอดมงกุฎ รุ่นแรก ขึ้น เพื่อสนับสนุนโครงการ เพชรยอดมงกุฎ ที่ท่านเจ้าคุณได้ตั้งขึ้นมาสิบปีแล้ว เหรียญพระคลัง เพชรยอดมงกุฎ มีรูปแบบงดงาม ด้านหน้าเป็น องค์พระคลัง ด้านหลังเป็น ยันต์เกราะเพชร ซึ่งมีอานุภาพสูง คุ้มครองป้องกันภยันตรายประดุจมี เกราะเพชร ห้อมล้อม
จัดสร้าง 3 รูปแบบ คือ เหรียญทองคำ เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ และ เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายธรรมดา
เหรียญพระคลัง เพชรยอดมงกุฎ พ.ศ.๒๕๕๖ นั้น กรมธนารักษ์ได้สร้างเหรียญพระคลังเพชรยอดมงกุฎ เพื่อเป็นการตอบสนองพลังความศรัทธาของประชาชนที่ยังมีความต้องการบูชาเหรียญที่ระลึกพระคลัง กรมธนารักษ์จึงได้จัดสร้าง “
เหรียญพระคลังเพชรยอดมงกุฎ”
ที่มีการออกแบบทางด้านศิลปะที่สวยงามเนื้อทองแดงรมดำพ่นทรายธรรมดา
ด้านหน้า
เป็นรูปพระคลังมหาสมบัติ เทวดาผู้ปกปักรักษาทรัพย์สินของประเทศในกรมพระคลังหลวงมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งถือเป็นเทพทางด้านเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
ด้านหลัง
เป็นรูปหลังยันต์เกราะเพชร ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาภยันตรายไม่ให้กล้ำกรายต่อผู้ครอบครอง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวรูปขึ้นประดิษฐานไว้ในอาคารที่ตั้งของพระคลังมหาสมบัติ หรือที่เรียกว่า “พระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ” โดยมีลักษณะเป็นเทวดาหล่อยืน ทรงเครื่องกษัตริยาธิราช สวมมงกุฎยอดชัย (หรือพระมหามงกุฎ) พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ อันเป็นลักษณะของผู้ปกป้องคุ้มครอง ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงามและการบูชา ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบเก๋งจีนทำด้วยไม้จันทน์ทาชาดสีแดง มีประตูเป็นบานเฟี้ยมถอดได้ แกะสลักลวดลายแบบจีน ลงรักปิดทอง
สันนิษฐานกันว่าการสร้างพระคลัง มีนัยยะคล้ายกับการสร้างพระสยามเทวาธิราช ทั้งในด้านรูปลักษณะในท่าที่ทรงยืน ฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงแบบกษัตริย์ สวมมงกุฎยอดชัย ซึ่งหากจะเปรียบกับตัวโขนในมหากาพย์รามายณะหรือรามเกียรติ์แล้ว ตัวพระซึ่งเป็นเชื้อสายกษัตริย์ คือ ‘พระราม’ หรือแม้แต่ ‘พระลักษณ์’ ก็สวม ‘มงกุฎยอดชัย’ ซึ่งมีลักษณะคล้ายพระมหามงกุฎเช่นกัน นอกจากนี้ ยังเปรียบเสมือนเทพยดาศักดิ์สิทธิ์ที่คอยอภิบาลรักษา โดยองค์พระสยามเทวาธิราชเป็นดั่งเทพที่คอยปกป้องบ้านเมือง ส่วน “พระคลัง” ดุจดังเทพผู้พิทักษ์รักษาทรัพย์สินมีค่าในพระคลังมหาสมบัติ สำหรับนัยยะของดอกบัวที่อยู่ในพระหัตถ์ซ้ายของ “พระคลัง”นั้น กล่าวกันว่า ‘ดอกบัว’ เป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อทางศาสนาพุทธ และเทพเจ้าของฮินดู ซึ่งมีการนำมาใช้ในพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพราะถือเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ ‘ดอกบัว’ ยังเป็นต้นเค้าของพุทธศิลป์ไทย เห็นได้จากการนำรูปทรงดอกบัวมาใช้เป็นองค์ประกอบเชิงศิลป์ซึ่งนิยมทำเป็นรูปรองรับพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ รูปบัวหัวเสาในอาคารสถาปัตยกรรมไทย เทวรูป หรือรูปเคารพที่ทรงถือดอกบัว อาทิ เทวรูปพระแม่ลักษมี ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการนำรูปดอกบัวไปประทับบนเงินตรา เช่น รูปกระต่ายบนดอกบัวในเหรียญเงินทวารวดี รูปดอกบัวบนเงินพดด้วงสมัยอยุธยา และรูปบัวอุณาโลมบนเงินพดด้วงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมถึงรูปแบบของเครื่องอิสริยยศหมวดเครื่องอุปโภค เช่น พานพระศรี หรือพานหมาก ตลอดจนรูปองค์ประกอบบนดวงตราและดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ฯลฯ
ความเชื่อเกี่ยวกับ “พระคลัง”
ว่าเปรียบดั่งเทพผู้พิทักษ์รักษาทรัพย์สินมีค่าในพระคลังมหาสมบัติ เป็นความเชื่อถือที่มีมาช้านาน เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเคารพบูชา และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของข้าทูลละอองธุลีพระบาทที่รับราชการในพระคลังมหาสมบัตินับจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จาก การที่ชาวกรมธนารักษ์ยังคงสืบทอดประเพณี “ถวายเครื่องสังเวย” (แปลว่า ให้อาหาร ให้เครื่องกิน ให้เครื่อง เซ่นไหว้) เทวรูปพระคลัง หรือที่ชาวกรมธนารักษ์เรียกกันว่า “พิธีไหว้เจ้าพ่อคลัง” ขึ้นทุกปีอย่างสม่ำเสมอ มิได้ขาด เพื่อขอให้ความเป็นสิริมงคลเกิดขึ้นแก่ผู้สักการบูชา และเป็นสิ่งที่ทุกคนได้พร้อมใจกันกระทำด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธาที่มีต่อ “เทวรูปพระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ” อย่างไม่เสื่อมคลาย
ราคาปัจจุบัน
359
จำนวนผู้เข้าชม
72 ครั้ง
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
somphop
ชื่อร้าน
อริยทรัพย์ อัมมูเลท
URL
http://www.ariyatrap-amulet.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0898525553
ID LINE
0898525553
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
2. ธนาคารกสิกรไทย / 415-2-34499-1
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี